จุดกำเนิด ของ มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ

ประวัติของแฟรนไชส์

อดีตมายลิตเติ้ลโพนี่ ไม่ใช่การ์ตูนดังในปัจจุบัน แต่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของเล่น ของบริษัท Harbro inc. ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงนั้น ต่อมาได้สร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นออกอากาศเป็นตอนพิเศษเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยมีรุ่นของการ์ตูนแบ่งเป็น 4 รุ่น

รุ่น G1 (พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2535)

ในรุ่นแรก Hasbro เริ่มออกอากาศ การ์ตูนแอนิเมชั่นเป็นครั้งแรก เป็นตอนพิเศษออกอากาศทางโทรทัศน์ซึ่งได้รับความนิยม และ Hasbro ก็ได้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นในชื่อเรื่อง My little pony: The Movie เพื่อตอบสนองความนิยม แต่ภาพยนตร์ก็มิได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ว่ากันว่าใช้ทุนสร้าง 10 ล้านเหรียญ แต่รายได้ไม่ถึง 6 ล้านเหรียญ) และถูกวิจารณ์อย่างย่อยยับ โดยมีข้อวิจารณ์ว่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นเพื่อโฆษณาสินค้าเท่านั้น ในปีต่อมา มายลิตเติ้ลโพนี่ ได้เริ่มออกอากาศในรูปแบบซีรีส์ ในชื่อ My little pony 'n Friend เป็นการ์ตูนในประเภทแอ็คชั่น-แฟนตาซี ซึ่งจะเน้นกลุ่มเด็กเล็กเป็นหลัก และประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งมีเด็กผู้ชายที่ชื่นชอบการ์ตูนเรื่องนี้ด้วย

ในอีก 5 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) มายลิตเติ้ลโพนี่กลับมาออกอากาศอีกครั้งในรูปแบบใหม่ ทั้งตัวละคร และเนื้อเรื่องในชื่อเรื่อง My little pony Tales ซึ่งได้นำสิ่งที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้นมาใส่เป็นองค์ประกอบในเนื้อเรื่อง เช่น "การใส่ปลอกขา" "การทำผม" รวมทั้งตัวละครในเรื่องมีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบยุค 90 เป็นการ์ตูนในประเภทชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเน้นกลุ่มเด็กหญิงและเด็กโตเป็นหลัก แต่ซีรีส์นี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และยุติออกอากาศในปีเดียวกัน[1]

รุ่น G2 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2546)

ในรุ่นนี้ Harbro ได้ยุติการทำแอนิเมชั่น และหันไปจำหน่ายของเล่นแทน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอยู่พอสมควร และของเล่นมีการพัฒนาไปเรื่อยๆตามลำดับ[2]

รุ่น G3-3.5 (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2553)

ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) Hasbro ได้กลับมาทำแอนิเมชั่นการ์ตูนมายลิตเติ้ลโพนี่อีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆทั้งหมด โดยออกแนวแฟนตาซีเป็นหลัก เนื้อเรื่องเป็นแนวจินตนิมิต เน้นไปยังกลุ่มเด็กเล็กเป็นหลัก และเน้นทำลงสื่อวิดิทัศน์ และน้อยตอนนักที่จะเอาออกอากาศ ซึ่งเนื้อเรื่องขาดความน่าสนใจ แอนิเมชั่นไร้แรงดึงดูด และความนิยมตกต่ำถึงขีดสุด นับได้ว่ารุ่นนี้เป็นรุ่นตกต่ำที่สุดของมายลิตเติ้ลโพนี่เลยก็ว่าได้ และทุกคนเห็นว่าสร้างขึ้นมาเพื่อโปรโมตของเล่นไปเท่านั้น[3]

จุดกำเนิด G4

จากความล้มเหลวของ G3 และภาพยนตร์ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส ของ ไมเคิล เบย์ สามารถช่วยให้ยอดขายของเล่นทรานส์ฟอร์มเมอร์สมียอดขายพุ่งทะยาน ฮาสโบรต้องการที่จะนำแฟรนไชส์มายลิตเติ้ลโพนี่กลับมาผลิตและปรับปรุงใหม่อีกครั้ง โดยมีความต้องการที่จะปรับเนื้อเรื่องและรสนิยมให้เข้ากับเด็กผู้หญิง[4] ตามคำแนะนำของมาร์กาเร็ต โลช ผู้จัดการของฮับ เน็คเวิร์ค ได้ทบทวนถึงคุณสมบัติสำคัญของการจัดสร้างคือขอบเขตและอิทธิพลของผู้ชม [5] รองประธานอาวุโส ลินดา สไตเนอร์ หนึ่งในคนที่ชื่นชอบแฟรนไชส์นี้ ยังได้แนะนำเช่นกันว่า "ควรให้ความใส่ใจกับกลุ่มผู้คนส่วนใหญ่" ด้วยแนวคิดเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ซึ่งเป็นธีมสำคัญของฮับ เน็คเวิร์ค[6] โดยธีมหลักที่ฮาสโบรคิดไว้คือเรื่องราวของมิตรภาพและการอยู่ร่วมสังคม และอีกปัจจัยพวกเขากำหนดคือการเขล่นของเล่นในกลุ่มเด็กๆ[7]

ลอเรน ฟอร์ส ผู้สร้าง มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ

อะนิเมเตอร์และผู้เขียน ลอเรน ฟอสต์ ติดต่อกับฮาสโบร โดยเธอกำลังพยายามที่จะขอให้ผลิตภัณฑ์ของเล่นของเธอ Galaxy Girls เป็นซีรีส์การ์ตูน ฟอสต์เคยทำงานเป็นเบื้องหลังการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จเรื่อง พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ และ ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ ถึงแม้ว่าการ์ตูนเหล่านี้จะประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางแต่ความคิดของเธอที่ปฏิเสธจากหลายสตูดิโอและเครื่องข่ายด้วยความคิดที่ว่า การ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิงมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเธอได้ติดต่อ ลิซ่า ลิคช์ จากฮาสโบร สตูดิโอ, ลิคช์ได้นำผลงานที่เพิ่งเสร็จของมายลิตเติ้ลโพนี่ "Princess Promenade" ให้ฟอสต์ดู ลิคช์คิดว่าสไตล์ของฟอสต์สามารถเข้ากันได้ดีกับเรื่องนี้และได้ร้องขอให้เธอคิด "ไอเดียที่จะนำมาจัดสร้างในแฟรนไชส์ใหม่"[4]

ฟอร์สได้รับการว่าจ้างจากฮาสโบรให้สร้างโครงเรื่องหลัก และให้เธอช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของเรื่อง[4] ฟอร์สกล่าวว่าเธอรู้สึก "ไม่เชื่อมั่นเป็นอย่างมาก" ในช่วงรับงานช่วงแรกเพราะเธอพบว่าโชว์วำหรับของเล่นเรื่องนี้มีความน่าเบื่อและไม่เป็นที่จดจำ มายลิตเติ้ลโพนี่คือหนึ่งในของเล่นโปรดของเธอในวัยเด็ก แต่เธอรู้สึกผิดหวังที่จินตนาการของเธอในเวลานั้นไม่เหมือนกับโชว์จริงๆ ฟอร์สได้กล่าวถึงโชว์เก่าๆว่า "มีแต่ปาร์ตี้น้ำชาไม่จบสิ้น ขำอย่างไร้เหตุผล และปราบตัวร้ายสำเร็จเพียงแค่แบ่งปันให้เขาหรือร้องไห้" ด้วยโอกาสที่จะได้ร่วมทำงานในมายลิตเติ้ลโพนี่ เธอหวังที่จะพัฒนาให้เป็น "การ์ตูนเด็กผู้หญิงที่ไม่มีแต่ความน่ารักหวานแหวว, ตัวละครไร้ความสมดุลและติ๊งต๊อง" เธอจึงออกแบบตัวละครและโชว์ให้มีองค์ประกอบที่ขัดแย้งต่อแบบแผนของความเป็นหญิง เช่นเป็นกลุ่มตัวละครที่มีความแตกต่างกันและมักทะเลาะกันแต่สุดท้ายก็เป็นเพื่อนกันได้ และแนวคิดที่ผู้หญิงไม่สมควรถูกจำกัดในสิ่งที่คนส่วนใหญ่บอกให้ทำและไม่ทำ องค์ประกอบและนิสัยของตัวละครได้รับแนวคิดมาจากจินตนาการของเธอในวัยเด็ก และบางส่วนก็ได้แรงบันดาลใจจากการ์ตูนที่พี่ชายของเธอดูและเติบโตมาเช่น ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส และ จีไอโจ เธอคิดที่จะสร้าง "เฟรนชิบ อิส เมจิค" สำหรับเด็กอายุ 8 ขวบ ฟอร์สยังเล็งให้ตัวละครนั้น "เป็นที่จดจำ" และมีแบบแผนของความเป็นหญิง (เช่นการเป็นหนอนหนังสือ) เพื่อเพิ่ทความน่าสนใจให้กับคนดูโดยเฉพาะหญิงสาว

ฟอร์สระบุด้วยว่าขณะที่เธอกำลังเสนอไอเดียต่างๆให้ฮาสโบร เธอก็ได้รับแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้นอีกจากการตอบรับเชิงบวกในการที่จะฉีกแนวเดิมๆของพวกเขา ฟอร์สได้เขียนโครงเรื่องให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยและเพิ่มเติมในเรื่องความสัมพันธ์ แต่การจะให้กลุ่มคนดูหญิงสาวจดจำมีความยากมากที่จะทำให้เนื้อหาเป็นเรื่องราวผจญภัย เธอจึงตัดแนวคิดนี้ออกไปบางส่วนและเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดของตัวละคร โชว์ยังมีการเพิ่มสัตว์ในจินตนาการที่จะทำให้เด็กหวาดกลัวเช่น มังกร, ไฮดรา แต่ก็ยังเน้นเรื่องราวมิตรภาพของตัวละครโดยให้มีความตลกขบขัน เมื่อถึงเวลาการอนุมัติโชว์นี้ ฟอร์สได้ส่งสคริปต์สำหรับโชว์นี้เป็นจำนวน 3 ตอน[4]

ฟอร์สเริ่มวาดภาพสเก็ตช์ตัวละครซึ่งปรากฏอยู่ในหน้าเดเวียนอาร์ทของเธอ โดยนำตัวละครจากซีรีส์เก่ามาดัดแปลง (เช่น ทไวไลท์, แอปเปิ้ลแจ๊ค, ไฟร์ฟาย, เซอร์ไพรส์, โพซี่และสปาร์เคอร์) ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นตัวละครหลักของโชว์[8][9] ฮาสโบรอนุมัติโชว์นี้และให้ฟอร์สเป็นผู้อำนวยการโปรดิวเซอร์[10] และให้เธอทำเนื้อเรื่องให้เสร็จสมบูรณ์ ฟอร์สจึงให้ มาร์ติน แอนโซลาบีเฮียร์ และ พอล รูดิช คนที่เคยทำงานให้แอนิเมชันเรื่องอื่นๆกับเธอ, รูดิชเป็นต้นคิดของเธอที่จะให้เพกาซัสเป็นโพนี่สำหรับควบคุมสภาพอากาศในอเควสเทรียรวมถึงตัวละคร "ไนท์แมร์มูน" ด้วย ในระหว่างนี้ฟอร์สได้ขอคำปรึกษาจาก เคร็ก แมคแครกเกน สามีของเธอและผู้สร้าง พาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ และ ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ, หลังจากดูเวอร์ชันเริ่มต้นของเนื้อเรื่อง ฮาสโบรได้ขอให้ทีมของฟอร์สสร้างตัวละครเพิ่มเติม ต่อมาฟอร์สได้นำ เดฟ แดนเน็ต และ ลินน์ เนย์เลอร์ เพื่อปรับแต่งสไตล์พื้นหลังและตัวละคร[4]

เมื่อเสร็จสิ้นการเขียนเนื้อเรื่อง ฮาสโบรและฟอร์สได้ตามหาสตูดิโอสำหรับสร้างแอนิเมชัน, Studio B โปรดักชั่น (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น DHX Media ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010 จากการร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท DHX)[11] ได้สร้างแอนิเมชันโดยใช้โปรแกรมอะโดบี แฟลช ให้กับแอนิเมชันที่มีสัตว์เป็นจำนวนมาก ทำให้ฟอร์สรู้สึกว่าพวกเขาคือทางเลือกที่ดี Studio B ได้ขอให้ เจย์สัน ธีสเซน เป็นไดเรกเตอร์ ซึ่งฟอร์สก็เห็นด้วย เธอ, ธีสเซน, และเจมส์ วุตตอน สร้างช็อทสั้นๆสองนาทีเพื่อนำเสนอให้กับฮาสโบร ทำให้บริษัทได้อนุมัติการจัดสร้างโชว์อย่างเต็มรูปแบบ โดยฟอร์สได้คาดการณ์ว่าการพัฒนาโชว์ให้ได้รับการอนุมัตินี้ใช้เวลายาวนานมากถึงหนึ่งปี[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มายลิตเติ้ลโพนี่ มิตรภาพอันแสนวิเศษ http://www.businessweek.com/articles/2014-02-27/at... http://fyre-flye.deviantart.com/journal/MLP-News-T... http://www.dhxmedia.com/press-room/19-dhx-media-re... http://www.hasbro.com/mylittlepony/en_us/ http://www.hasbrostudios.com/shows/page/title/my-l... http://www.hubworld.com/my-little-pony/shows/frien... http://www.imdb.com/title/tt1751105/ http://io9.com/lauren-faust-shares-her-childhood-m... http://www.preceden.com/timelines/70760-from-ponyl... http://www.tigatime.com/copyright_details.php?cart...